ReadyPlanet.com


เป็นคนโง่ที่มีระดับ


 “อย่างเราเรียกว่า โง่ หรือ ฉลาด?” เจอคำถามนี้ ส่วนน้อยที่จะตอบไปทันทีว่าเรา โง่ หรือ ฉลาด ส่วนมากหากใช้เวลาคิดเสียหน่อยคงได้คำตอบทำนองว่า “โง่บางครั้ง ฉลาดบางเรื่อง” ซึ่งในเรื่องที่ฉลาดมันก็ดีอยู่แล้ว ส่วนอีกด้านก็บ่งบอกว่าเราทุกคนย่อมต้อง เป็นคนโง่ อยู่ด้วย เพียงแต่… เราโง่แค่ไหนกัน?

คำว่า “โง่” เราอาจมีเจตคติ ต่างกัน บ้างมองเป็นคำเหยียด หยาบคาย ดูแคลน โดยอาจขึ้นอยู่กับน้ำเสียง และบริบทที่ต่างกันไป แต่ส่วนตัวแล้วไม่ขัดเขินที่จะใช้พูดถึงตัวเองในหลาย ๆ สถานการณ์ว่า “ผมโง่เรื่องนี้” โดยเข้าใจอยู่ด้วยว่าหากพูดถึงตัวเองคงไม่เป็นไร แต่ถ้าไปพูดถึงคนอื่นว่าโง่นั้น อาจดูรุนแรง และไม่จำเป็น ส่วนหนึ่งเพราะเราตีความคำว่าโง่ “ในระดับที่ไม่เท่ากัน”

อันที่จริงก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพูดถึงตัวเองว่า “เป็นคนโง่” ไม่ว่าจะโง่มากหรือโง่น้อยก็ตาม เพียงแต่นั่นเป็นเรื่องของการสื่อสารและการแสดงออก แต่ความเข้าใจกับการยอมรับนั้น ถือว่าจำเป็น ที่ควรรู้ตัวว่าเราโง่เรื่องไหนมากแค่ไหน เพราะมีผลต่อการพัฒนาตัวเอง ทัศนคติ รวมถึงดึงสติในการดำเนินชีวิตอีกด้วย จึงอยากให้ลองคิดตามดูว่าโง่ที่มีระดับนั้น เราอยู่ระดับไหนกัน… ทดลองเล่นสล็อต

โง่ระดับ 1 “แค่ ไม่รู้”

เป็นความโง่ที่เราทุกคนเคยเป็น และส่วนใหญ่จะกล้ายอมรับในทันที แต่มีไม่น้อยที่ยึดติดเพียงบางอย่าง มีอาการคล้ายรังเกียจความโง่ระดับนี้ ทั้งที่มันไม่น่าเสียหายอะไร แต่เมื่อไม่ยอมรับ มันก็มีโอกาสที่จะสร้างผลเสียต่อไปในอนาคต ดังเช่น…

“รู้ใน(ไป)ทุกเรื่อง” ประโยคนี้เป็นคำชม หรือ ประชด? เชื่อว่าส่วนใหญ่ได้ยินแล้วจะฟังเป็นประชดเสียมากกว่า ต่อให้เป็นประโยคที่ตั้งใจชมจริง ๆ เมื่อไปชมใคร เชื่อว่าผู้ถูกชม ถูกยกย่องเช่นนี้ได้ เขาย่อมตอบกลับว่า “ไม่ทุกเรื่องหรอก…” อย่างแน่นอน

ความโง่ไม่เลวร้าย เท่าการไม่ยอมรับ

ด้วยจักรวาลนี้มีข้อมูลมหาศาล เราเองก็มีประสบการณ์เพียงเศษเสี้ยวของข้อมูลเหล่านั้น ดังนั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะ โง่แบบไม่รู้ รวมถึง รู้ไม่หมด กันเป็นปกติ เพราะมีข้อมูลมากมาย มีมิติมากมาย รวมถึงข้อมูลที่ผิดเพี้ยน บิดเบือนง่าย ก็อีกมากมาย

อย่างไรก็ตามนี่ควรถือว่านี่เป็นความโง่ที่น้อยสุด เป็นพื้นฐานที่น่าจะยอมรับได้ แต่หากไม่รับมันกลับส่งผลเสียไม่น้อยกว่าระดับอื่นเลย เพราะจะหมายถึงการสะสมอีกหนึ่งความโง่ไปตลอดกาล

จริงอยู่ที่เราจะไม่เรียกภาวะนี้ว่าโง่ หรือถือว่าแค่ “ไม่รู้” หากภายในใจเรายอมรับ เราย่อมเปิดใจกลับไปหาคำตอบ หาความรู้ในความไม่รู้นั้นให้ตัวเองได้ภายหลัง กล่าวง่าย ๆ ความโง่ระดับนี้ไม่ได้เลวร้ายเท่าการไม่ยอมรับนั่นเอง

โง่ระดับ 2 “รู้แต่ไม่ใช้”

นี่ก็เป็นความโง่หนึ่งที่เราเป็นกันบ่อย แต่ยอมรับได้น้อยกว่า หรือถึงเวลานั้นมันยากที่จะระลึกได้ พื้นฐานที่สุดอาจเกิดจากพฤติกรรม หรือนิสัยความเคยชิน เช่น แทนที่จะใช้คีย์ลัดบนคอมพิวเตอร์เพื่อให้เราสะดวกขึ้น หรือเทคนิคบางอย่างที่เรียนรู้มาแล้ว แต่เราก็เลือกใช้วิธีเดิมที่ช้ากว่า เสียเวลากว่า  เพียงเพราะ เคยชินกว่า หรือว่า มันชินไปแล้ว

นั่นเป็นเพียงตัวอย่างพื้นฐาน ซึ่งอาจมองได้ว่าแค่นี้ไม่น่าเรียกว่าโง่ หรือบางเรื่องแค่ลืม ก็ไม่ผิดอะไร แต่เมื่อลืมบ่อย ๆ ติดกับพฤติกรรมเดิม ๆ เมื่อนั้นมันย่อมขัดขวางการพัฒนา เราจะเสียเวลาสะสมไปเรื่อย ๆ จุดหนึ่งก็ถือว่าเสียเวลาชีวิตมากมาย ทั้งที่ที่จริงเรารู้ แต่ไม่เคยนำมาใช้ หรือถ้าเรานึกได้ ณ เหตุการณ์หนึ่งซึ่งมันเริ่มส่งผลเสียขึ้นมา เราก็จะบ่นกับตัวเองได้แค่ว่า “เรานี่โง่จริง ๆ”

อนึ่งหากอะไรทำนองนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนพฤติกรรมคนอื่น กล่าวคือ เขาทำอะไรเดิม ๆ แทนที่จะใช้วิธี หรือเครื่องมือที่ดีกว่านั้น ซึ่งเขาก็เคยรู้แล้ว เราจะมองว่า ทำไมโง่ ไม่ทำแบบใหม่ วิธีใหม่กันนะ ตอนนั้นล่ะ เราจะมองมันว่าเป็นความโง่ได้ง่ายกว่ามองตัวเอง

 

แต่ในกรณีที่ละเอียดขึ้น ก็ดังเช่น มีคนมาบอกว่า “ยืมเงิน พรุ่งนี้คืน” หรืออีก 2-3 วันคืน จะด้วยความสงสาร ความไว้ใจ หรืออื่นใดบดบัง ที่หากได้พิจารณา “เรารู้” ได้ว่า ถ้าพรุ่งนี้หรือไม่กี่วันจะหาเงินมาคืนได้ ทำไมวันนี้ต้องยืม? ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นไปไม่ได้ที่ต้องยืม แต่จะมีสักกี่เรื่องกันที่จะคอขาดบาดตายขนาดที่ไม่จ่ายวันนี้ เดี๋ยวนี้ หรือต้องด่วนขนาดนั้นจนรอเงินไม่ได้ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกกรณี ได้คืนก็ดีไป แต่ถ้าไม่ได้คืน คนยืมกับคนให้ยืม ใครฉลาดหรือโง่กว่ากัน?



ผู้ตั้งกระทู้ warrr (lelemimi76-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2023-05-26 09:53:24 IP : 188.214.125.78


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.